(1) ระบบปฏิบัติการปาล์ม (Plam OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่เรียกว่า เครื่องปาล์ม มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก ระบบปฏิบัติการปาล์มและเครื่องปาล์มถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทปาล์มซอร์ซ์ (Plam Inc.) ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้ได้รับนิยมอย่างแพร่หลาย
(2) ระบบปฏิบัติการพ็อกเก็ตพีซี (Pocket PC OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เพื่อควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้โดยกราฟิก สนับสนุนการทำงานแบบการใช้งานได้หลายงานในเวลาเดียวกัน (multi-tasking) เช่น ท่องเว็บหรือค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกับการฟังเพลงหรือตรวจเช็คอีเมลได้พร้อมกับการสร้างบันทึกช่วยจำ เป็นต้น
(3) ระบบปฏิบัติการซิมเบียน (Symbian OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทซิมเบียน ออกแบบมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ตโฟน มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งานโดยรูปแบบการฟิก สนับสนุนการทำงานแบบการใช้งานหลายงานในเวลาเดียวกัน
2.2) ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (network operating system) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ รวมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น สามารถรองรับผู้ใช้งานได้หลายคน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย ใช้หลักการประมวลผลแบบไคลแอนด์เซิร์ฟเวอร์ (client server system) กล่าวคือ เครื่องแม่ข่าย (server) สามารถให้บริการแก่เครื่องลูกข่าย (client) ได้หลายเครื่องในเวลาเดียวกันหากเครื่องลูกข่ายเรียกใช้ข้อมูลจากเครื่องแม่ข่าย ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการเครือข่ายสำหรับการเรียกใช้ข้อมูลและการจักการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องแม่ข่ายในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องลูกข่าย ได้แก่ การประมวลผลและการติดต่อกับผู้ใช้ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบเครือข่าย มีดังต่อไปนี้
(1) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (Windows Server) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายขององค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง นิยมติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลและโปรแกรมกับเครื่องลูกข่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์มีการพัฒนาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ Windows NT, Windows 2000, Windows Server 2003 และ Windows Server 2008

(3) ระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris) เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ พัฒนาขึ้นโดยบริษัท ซัน ไมโคร ซิสเต็ม ออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือการขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต ในอนาคตระบบปฏิบัติการโซลาริสมีโครงการจะพัฒนาเป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผยโค้ด (Open Source) ด้วย
(3) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก ในระยะแรกระบบปฏิบัติการยูนิกซ์พัฒนาเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้งานหลายคนในเวลาเดียวกัน (multi-user) ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบที่สนับสนุนการใช้งานได้ทั้งแบบเดี่ยวและแบบเครือข่าย นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติกาอื่นๆได้ เช่น DOS, Microsoft Windows, NetWare, OS/2, Minix, NFS, System V เป็นต้น
(4) ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช (Macintosh Operating System: MAC OS) ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของแมคอินทอชเท่านั้น ซึ่งเครื่องแมคอินทอชเป็นของบริษัท Apple ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการแรกที่สามารถทำงานเกี่ยวกับกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบปฏิบัติการประเภทนี้ติดต่อกับผู้ใช้งานโดยรูปแบบกราฟิก มีความสามารถในการทำงานได้หลายโปรงแกรมในเวลาเดียวกัน เหมาะกับงานในด้านสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะ
(5) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux) มีลักษณะคล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์แต่มีขนาดเล็กและทำงานได้เร็วกว่า เป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผยโค้ด (open source software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้กไปใช้งาน แก้ไข หรือจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ต่อมามีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการลินุกซ์โดยเพิ่มความสามรถให้ใช้กับระบบเครือข่ายได้ ผู้ที่ต้องการใช้งานต้องดาวน์โหลดมาโดยเสียค่าใช้จ่ายด้วย
ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
2.1) ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (stand – alone operating system) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับผู้ใช้งานเพียงคนเดียว กล่าวคือเป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยไม่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น แต่ปัจจุบันระบบปฏิบัติแบบการเดียวได้ขยายขีดความสามารถให้รองรับการเชื่อมต่อกับเป็นระบบเครือข่ายได้ ตัวอย่างระบบปฏิบัติแบบการเดี่ยว มีดังต่อไปนี้
(1) ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นระบบปฏิบัติการที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบบรรทัดคำสั่ง เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ โดยระบบปฏิบัติการดอสรุ่นแรกเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างบริษัทไอบีเอ็มและบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไปบีเอ็มและใช้ชื่อระบบปฏิบัติการว่า PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการดอสของตนเองขึ้นมา โดยใช้คำว่า MS-DOS สำหรับใช้กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็ม

(2) ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์(Microsoft Windows) พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบกราฟิก นอกจากนี้บริษัทไมโครซอฟท์ยังได้พัฒนาซอฟท์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่อำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ใช้หลายด้าน เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล เป็นต้น จึงทำให้มีผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์อย่างแพร่หลาย ได้แก่ Windows 3.0, 3.1, 3.11, Windows 95, 98, ME, Windows NT, 2000, XP, Vista, Seven
ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือเรียกย่อๆ ว่า โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลักหน่วยความจำสำรอง และหน่วยส่งออก นอกจากนี้ยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยงและสนับสนุนคำสั่งในการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ด้วย บางครั้งระบบปฏิบัติการนิยมเรียกว่า แพลตฟอร์ม (platform)
ระบบปฏิบัติการมีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน และประเภทของระบบปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้
1) รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน 2 แบบ ดังนี้
1.1) แบบบรรทัดคำสั่ง (command – line interface) เป็นรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ในยุกต์แรกๆ โดยผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งให้ระบบปฏิบัติการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งาน การติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดคำสั่งจึงได้รับความนิยมลดลง แต่รูปแบบการติดต่อแบบบรรทัดคำสั่งยังมีความจำเป็นกับคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคำสั่งสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เช่น การบันทึกไฟล์ข้อมูล การซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหาย เป็นต้น
ตัวอย่างรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดคำสั่งของระบบปฏิบัติการดอส เช่น
cd\ ทำการย้ายการทำงานไปที่ไดรฟ์ C
C:\>dir ทำการแสดงรายชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดที่อยู่ในไดรฟ์ C
1.2) แบบกราฟิก (graphic user interface : GUI) เป็นรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งานโดยการใช้รูปภาพเล็กๆ เป็นสัญลักษณ์แทนไฟล์หรือโปรแกรม ที่เรียกว่า รายการเลือก (menu) หรือไอคอน (icon) ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้โดยใช้เมาส์คลิกเลือกที่รูปภาพนั้น เพื่อเปิดไฟล์หรือโปรแกรมต่างๆ ทำให้ใช้งานได้สะดวกและมีสีสันสวยงาม ซึ่งเป็นรูปแบบการติดต่อที่ได้รับความนิยมสูง
ซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์กล่าวคือเป็นโปรแกรมควบคุมและประสารการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งดำเนินงานพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น สั่งให้รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ สั่งให้ซีพียูคำนวณผล สั่งให้แสดงผลทางลำโพง เป็นต้น ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมอรรถประโยชน์ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้